รถติดแก๊ส ต้องอ่าน
บทความดี ดี ที่ผู้ใช้ รถติดแก๊ส ควรจะต้องอ่านกัน
บทความดี ดี ที่ผู้ใช้ รถติดแก๊ส ควรจะต้องอ่านกัน
ก๊าซธรรมชาติคือ ปิโตรเลี่ยมชนิดหนึ่ง เกิดจากซากพืช ซากสัตว์ที่ทับถมภายใต้ความร้อน นับล้านล้านปี และประกอบกับแรงอัดอันมหาศาลจนแปรเปลี่ยนสภาพเป็น ปิโตรเลียม ทั้งที่อยู่ในสถานนะของแข็ง คือ ถ่านหิน ของเหลว คือ น้ำมันดิบ และสถานะแก๊ส คือ แก๊สngv แก๊สรถยนต์ นั้นเอง
องค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติ ประกองด้วย ไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดรวมอยู่ด้วยกัน ส่วนใหญ่กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นก๊าซมีเทน ก๊าซอีเทน ก๊าซโพรเพน ก๊าซบิวเทน ซึ่งก๊าซเหล่านี้ สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานเผาไหม้ ให้ความร้อน หรือ เชื้อเพลิงได้ทั้งสิ้น นอกจากก๊าซดังกล่าวยังมี น้ำ ไนโตรเจน ไฮโรเจนซัลไฟล์ เป็นต้น
แก๊ส ngv สำหรับยานยนต์ (Natural Gas for Vehicles) มีชื่อเรียกสากล ว่า ก๊าซธ
ร
รมชาติอัด CNG Comppression Gas เกิดจากนำก๊าซธรรมชาติมาอัดในสภาวะแรงดันสูง แล้วนำไปเก็บไว้ในถังบรรจุที่ความแข็งแรงสูงและทนทานเป็นพิเศษ เพื่อนำมาใช้สำหรับรถยนต์ ติดngv ทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ในรถยนต์
กว่า 7 ปี แล้วที่คนไทยใช้แก๊ส NGV ราคา 8.50 บาทต่อกิโลกรัม(กรกฎาคม 2554) โดยไม่มีการปรับขึ้นราคา ตั้งแต่วันที่ราคาไข่ไก่ต่ำกว่า 2 บาทต่อฟอง ราคาทองคำไม่กี่พันต่อบาท และราคาน้ำมันดิบต่ำกว่า 25 เหรียญต่อหนึ่งบาร์เรล จนกระทั่งถึงวันที่ไข่ไก่ราคาฟองละเกือบ 5 บาท ทองคำราคาบาทละ 2 หมื่นกว่า และน้ำมันราคาบาร์เรลละ 100 กว่าเหรียญ แต่ก๊าซ NGV ก็ยังคงราคา 8.50 บาทต่อกิโลกรัมเท่าเดิม น่าแปลกใจไหมว่าในขณะที่ของทุกอย่างขึ้นราคาตามสภาพเศรษฐกิจ
ใช่ว่าราคาที่ขายอยู่นั้นเป็นราคาที่เป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริง แต่เป็นเพราะว่าแก๊สNGV ถูกตรึงราคาไว้ ทำให้ ปตท. ต้องรับภาระขาดทุนสะสมตั้งแต่ปี 2546 ถึงปัจจุบัน จากการขายก๊าซ NGV กว่า 40,000 ล้านบาท หากเป็นเช่นนี้ต่อไปจะก่อให้เกิดความเสียหายตามมาหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์การใช้พลังงานภายในประเทศที่บิดเบือนไปจากความจริง
ด้วยเหตุนี้เองคณะกรรมการนโยบายพลังงานธรรมชาติ (กพช.) มีมติเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 ให้ปรับขึ้นราคา ขายปลีกก๊าซ NGV เดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ตั้งแต่ 16 มกราคมถึงธันวาคม 2555 ซึ่งหมายความว่าเมื่อถึงเดือนมกราคม 2556 ทุกคนที่ใช้ก๊าซ NGV ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จากราคา 8.50 บาทต่อกิโล- กรัม เป็น 14.50 บาทต่อกิโลกรัม หรือจ่ายเพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 6 บาท
ตอนที่ไม่มีผลกระทบกับตัวเอง คนส่วนใหญ่ก็จะไม่สนใจละไม่ใส่ใจ แต่เมื่อมีผลกระทบก็มักจะคัดค้านไว้ก่อนโดยไม่ฟังเหตุผล
ทำไมคนไทยไม่มีสิทธิ์ใช้ก๊าซ NGV ราคาถูกในเมื่อผลิตได้เองจากอ่าวไทย
มีคนบอกว่าค่าครองชีพของคนอเมริกันสูงกว่าคนไทย แต่ทำไมถึงสามารถใช้ก๊าซในราคาที่ถูกกว่า
ถ้าสาเหตุที่ต้องขึ้นราคาก๊าซ NGV เพราะอ้างว่าขาดทุน ทำไม ปตท. มีกำไรเป็นแสนล้านบาท
ถ้าจะขึ้นราคา ตัวเลขที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงควรเป็นเท่าไหร่ คิดจากอะไร และใครเป็นกำหนด
คำถามมากมายเกี่ยวกับเรื่องก๊าซ NGV ซึ่งต้องการคำตอบจะเชื่อใครดี จะรู้ได้อย่างไรว่าเรื่องก๊าซ NGV ใครหลอกใครกันแน่? ร่วมค้นหาคำตอบได้ที่นี่ ในตอนต่อไปต่อๆ ไป
“รู้ทันก๊าซ แล้วคุณจะไม่โดนหลอก”
ซักนิด…กับ Tips NGV
โดยเป็นสถานีบริการแก๊ส NGV ตามแนวท่อส่งก๊าซฯ 3 สถานี และสถานีนอกแนวท่อส่งก๊าซฯ อีก 3 สถานี เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รถติดNGV ทำให้ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2557) มีสถานีบริการ NGV รวมทั้งสิ้น 496 สถานี แบ่งเป็นสถานีตามแนวท่อส่งก๊าซฯ จำนวน 120 สถานี และสถานีนอกแนวท่อส่งก๊าซ จำนวน 356 สถานี และสถานีจ่ายก๊าซหลักหรือสถานีแม่ จำนวน 20 สถานี ครอบคลุม 54 จังหวัด
สถานที่ตั้ง 168, 168/1-4 หมู่ 2 ถนนทางหลาว หมายเลข 7 (บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง) ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230
สถานที่ตั้ง 78/2-3 ถ.รามคำแหง แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี จ.กรุงเทพฯ 10510
สถานที่ตั้ง 23 ถ.บ้านบึง – บ้านค่าย ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 20170
ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ NGV บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)(ปตท.) ได้จัดตั้งสถานีบริการ NGV ในรูปแบบการขายปลีก โดย ปตท. เป็นผู้ลงทุนสร้างสถานีบริการและจ้างผู้มีสิทธิ์ในที่ดินเป็นผู้บริหารการขาย ต่อมาเมื่อความต้องการใช้แก๊ส NGV เพิ่มมากขึ้น ปตท. ได้ส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนสถานีบริการ NGV เอง จนกระทั่งปัจจุบัน (ณ 31 ส.ค. 56) ประเทศไทยมีสถานีบริการ NGV แล้ว 486 แห่ง ครอบคลุม 54 จังหวัด ทั่วประเทศ
ด้วยราคาขายปลีกก๊าซ NGV ที่ต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นมาก ทำให้ผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะ รถขนส่งและประชาชนทั่วไปนิยมใช้แก๊ส NGV เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีรถ NGV แล้ว มากกว่า 422,000 คัน ด้วยปริมาณการใช้ก๊าซ NGV สูงถึงกว่า 8,800 ตันต่อวัน ซึ่งปริมาณการใช้ก๊าซ NGV เกือบร้อยละ 50 เป็นการใช้จากรถบรรทุก รถหัวลาก และรถสาธารณะ ซึ่งเมื่อรถประเภทนี้เข้าเติมก๊าซ ณ สถานีบริการ NGV จะเติมก๊าซจำนวนมากและใช้เวลานาน ส่งผลให้รถติด NGV อื่นๆ ประสบปัญหารอเติมก๊าซนานและในพื้นที่ห่างไกลแนวท่อจะพบปัญหาก๊าซหมดด้วย
ปตท.ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาดังกล่าว ประกอบกับกระทรวงพลังงานมีนโยบายส่งเสริมให้ภาคส่งเสริมเอกชนเข้ามาลงทุนในกิจการ NGV แบบครบวงจร ปตท.จึงริเริ่มโครงการขายก๊าซ NGV จากแนวท่อ (Ex-Pipeline) สำหรับภาคขนส่ง เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ก๊าซ NGV ภายใน Fleet ของตนเอง
การจำหน่ายแก๊ส NGV จากแนวท่อส่งก๊าซเป็นการขายตามค่าความร้อนของคุณภาพก๊าซ NGV ที่แท้จริงให้กับกลุ่มผู้ประกอบการที่มีรถ NGV และมีปริมาณการใช้แก๊ส NGV ค่อนข้างสูง อาทิ ผู้ประกอบการรถบรรทุก รถหัวลาก หรือรถโดยสาร เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในกิจการ NGV แบบครบวงจร จะช่วยให้การขยาย NGV เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นและผู้ประกอบการรถขนส่ง/รถโดยสารสามารถบริหารจัดการสถานีให้เหมาะสมและสะดวกในการดำเนินกิจการของตนเอง ส่งผลให้ปริมาณรถบรรทุก รถหัวลากและรถโดยสาร ที่มาใช้บริการเติมแก๊ส NGV ณ สถานีบริการ NGV ในรูปแบบการขายปลีกลดลง ผู้ใช้รถติด NGV ทั่วไปสะดวกในการเติมก๊าซมากขึ้นและลดปัญหารอคิวเติมก๊าซได้ อีกทั้งผู้ประกอบการขนส่ง/รถโดยสารสามารถใช้ก๊าซด้วยคุณภาพจากแนวท่อในแต่ละพื้นที่ โดยไม่ต้องปรับปรุงคุณภาพก๊าซ
แนวทางการดำเนินการ
ปตท. จะเป็นผู้จัดหาและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติจากแนวท่อ ผู้ประกอบขนส่ง/รถโดยสารที่สนใจจะเป็นผู้ลงทุนในกิจการทั้งหมด ประกอบด้วย
ก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซจากแนวท่อส่งก๊าซของ ปตท. ถึงสถานีควบคุมความดันและวัดปริมาตรก๊าซ (M/R Station)
ก่อสร้าง M/R Station จุดวัดซื้อขายก๊าซ
ก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซจาก M/R Station ถึงสถานีบริการ NGV (Conventional Station)
ก่อสร้างสถานีบริการ NGV
หลักเกณฑ์ในการลงทุน
คุณสมบัติของผู้ประกอบการรถขนส่ง/รถโดยสารที่สนใจลงทุนสถานีเพื่อเติมก๊าซใช้เอง จะต้อง
นิติบุคคล สัญชาติไทย
มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
ซื้อก๊าซเพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับภาคขนส่งและใช้เองภายในกิจการ หรือในกลุ่มผู้ประกอบการขนส่ง
โดยพื้นที่ในการจัดตั้งสถานีบริการ NGV จะต้องประกอบด้วย
ต้องมีพื้นที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท.ได้
มีความสามารถของระบบท่อและปริมาณก๊าซเพียงพอ
แบบจำลองการขายตรงก๊าซ NGV จากแนวท่อ
แนวท่อส่งก๊าซในปัจจุบันและอนาคต
แนวท่อฯ ปัจจุบัน
ท่อตะวันออก : ระยอง – สระบุรี
ท่อตะวันตก : กาญจนบุรี – อยุธยา
แนวท่อฯ อนาคต
ท่อเส้นที่ 4 : ระยอง – สระบุรี
ท่อนครสวรรค์ : อยุธยา – นครสวรรค์
ท่อนครราชสีมา : สระบุรี – นครราชสีมา
Ex-Pipeline หรือ Ex ท่อ เป็นการบริหารจัดการของ NGV โดย ปตท. ขายก๊าซจากแนวท่อตามคุณภาพก๊าซที่แท้จริงให้กับผู้ประกอบการรถขนส่งบริหารจัดการสถานีของตนเอง
ผู้ประกอบการรถขนส่ง/รถโดยสาร ที่สนใจจัดตั้งสถานีบริการ แก๊ส NGV ทั้งในแนวท่อส่งก๊าซปัจจุบันและแนวท่อส่งก๊าซในอนาคต สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนพัฒนาเครือข่ายสถานี ฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ ปตท. โทรศัพท์ 02-537-1737 และ 02-537-2630 ในวันและเวลาราชการ
ปตท.ขอสงวนสิทธ์ให้บริการเติมก๊าซเฉพาะรถที่ติดสติ๊กเกอร์ CNG ที่ไม่หมดอายุ ผ่านการตรวจและทดสอบอุปกรณ์และส่วนควบ รวมถึงถัง CNG โดยผู้ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
ถังก๊าซที่ติดตั้งอยู่กับรถจะยึดและหดตัวจากแรงดันของเครื่องอัดก๊าซที่สถานีฯ ดังนั้นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากถึงก๊าซฯ ที่อาจระเบิดได้ ผู้โดยสารรถตู้และรถบัส ต้องลงจากรถทุกครั้งก่อนเติมก๊าซฯ
มีอุบัติเหตุบ่อยครั้งเกิดจากรถกระชากสายเติมก๊าซฯขาดทำให้เกิดก๊าซรั่ว และอาจได้รับอันตรายได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย โปรดรอให้พนักงาของสถานีถอดสายและเก็บหัวเติมก๊าซฯ ให้เรียบร้อยก่อนแล้วชำระเงิน
เราจะอธิบายถึง หัวรับเติมก๊าซ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ผู้ใช้รถ NGV ควรให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดก๊าซรั่วซึมได้เช่นกัน
หัวรับเติมก๊าซ (Receptacle)
เป็นอุปกรณ์ในการรับแก๊สNGV จากหัวจ่ายก๊าซ เข้าสู่ถัง CNG ภายในหัวรับเติมก๊าซจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่าลิ้นกันกลับ (Check Valve or Non-Return Valve) ซึ่งมีหน้าที่บังคับให้ก๊าซ NGV ไหลเพียงทางเดียวจะไม่สามารถไหลย้อนกลับไปยังหัวจ่ายก๊าซได้ อีกทั้งก๊าซจะไม่มีการรั่วซึมออกจากหัวเติมก๊าซขณะใช้งาน
หากลิ้นกันกลับในหัวรับเติมก๊าซทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ อาจก่อให้เกิดปัญหาก๊าซ NGV ไหลย้อนกลับไปยังหัวจ่ายก๊าซขณะกำลังจะสวมหัวจ่ายเพื่อเติมก๊าซได้ นอกจากนี้ หากหัวจ่ายกับหัวรับเติมก๊าซเชื่อมต่อกันไม่สนิท ขณะที่พนักงานเติมก๊าซกำลังต่อหัวจ่ายก๊าซกับหัวรับเติมก๊าซ อาจทำให้หัวจ่ายก๊าซสะบัดหลุดออกจาก หัวรับเติมก๊าซ ส่งผลให้รถยนต์ที่รับบริการเติมก๊าซและตู้จ่ายได้รับความเสียหาย ในบางกรณีอาจทำให้พนักงานเติมก๊าซหรือบุคคลทั่วไปที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้รับบาดเจ็บด้วย
– หัวรับเติมก๊าซควรมีฝาปิด เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันบริเวณข้างใน
– เปลี่ยนแหวนยางหรือ O-Ring ของลิ้นกันกลับทุกๆ 1ปีครึ่ง หรือ 2 ปี ตามอายุการใช้งานหรือเมื่ออุปกรณ์เสื่อมสภาพ
– เมื่อบ่ารับลูกปืนจากหัวจ่ายของหัวรับเติมก๊าซ เกิดการสึกมากเกินไป ควรเปลี่ยนใหม่ทันที
แต่จะดีกว่าหรือไม่ หากผู้ใช้รถ NGV ทุกท่านนำรถ NGV เข้าตรวจทดสอบถัง CNG และอุปกรณ์ NGV ตามที่กฎหมายกำหนด
ไม่ว่าจะเป็นการตรวจด้วยสายตาหรือใช้น้ำผสมสบู่อย่างสม่ำเสมอ เท่านี้ ท่านก็สามารถขับรถติด NGV ได้อย่างมั่นใจในความปลอดภัยและสร้างความอุ่นใจให้กับเพื่อนร่วมทางด้วย
การใช้รถติดแก๊ส คือ รถที่มีการดัดแปลง เปลี่ยนเปลี่ยนแปลง จากระบบเชื้อเพลิงปกติ (น้ำมัน)
เป็น ที่ทราบกันที่ดี ว่าการรถใช้แก๊สรถยนต์ มีความประหยัดอย่างยิ่ง แต่การบำรุงรักษามักจะโดน มองข้ามไป ซึ่งอาจนำไปสู่ การทำลายเครื่องยนต์แบบระยะยาว และหนักกว่านั้นคือ อันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
ดังนั้นเราควรหันมาสนใจการบำรุงรักษา อุปกรณ์ต่างๆ ของ แก๊สรถยนต์ ทั้ง NGV และ LPG รถยนต์ ให้มากขึ้นเพื่อการใช้งานระยะยาว ด้วยความปลอดภัย
ประเทศไทยมีการใช้ก๊าซธรรมชาติตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมา แหล่งก๊าซธรรมาติระยะแรกมาจากอ่าวไทย ต่อมามีการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติบนบก คือ แหล่งสินภูฮ่อม จ อุดรธานี แหล่งสิริกิติ์ จ กำแพงเพชร รวมถึงภาคใต้ อ จนะ จ สงขลา และแหล่งเยตากุน ยานาดา สหภาพเมียนม่าร์ แหล่งก๊าซธรรมชาติที่กล่าวมานี้ ทำการผลิตก๊าซธรรมชาติ ทุกวัน เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักภายในประเทศเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงการใช้เป็นก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (แก๊ส NGV )
ที่ผ่านมา แหล่งก๊าซธรรมชาติท้งบนบกและในทะเล ต้องทำการผลิตตลอดเวลาเพื่อตอบสนองความต้องการการใช้พลังงานภายในประเทศ ทั้งนี้ โรงงานอุตสาหกรรมต้องมีการดูแลรักษาเพื่อให้เครื่องจักรกล ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ฉันใด อุปกรณ์ของแท่นผลิตก๊าซธรรมชาติก็เช่นเดียวกัน เมือมีการใช้งานไปนานๆ ก็ต้องมีการบำรุงรักษาเครื่องจักร เพื่อป้องกันอุบัติเหตุซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้
แผนการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ ปี 2557
ปี 2557 ผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติแต่ละแหล่งได้มีแผนการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ เพื่อตรวจสอบ ซ่อมบำรุงเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆของแท่นผลิต และเพื่อการเชื่อมต่อหลุมผลิตใหม่เข้าระบบและติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม รวมถึงปรับเปลี่ยนระบบควบคุมและตรวจสอบความปลอดภัยตามรอบการทำงาน โดยแหล่งกาซธรรมชาติแต่ละแหล่งมีกำหนดการหยุดจ่ายก๊าซเพื่อซ่อมบำรุงดังนี้
ปตท เตรียมความพร้อม ให้ผู้ใช้รถ NGV เมื่อแหล่งก๊าซธรรมชาติ หยุดการผลิต
เพื่อเป็นการลดผลกระทบต่อผู้ใช้ NGV ปตท จะเตรียมการสำรองก๊าซ ล่วงหน้าในระบบและในช่วงการหยุดจ่ายก๊าซโดยการจัดสรรก๊าซ จากส่วนกลางมาให้สถานีบริการในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทยเป็นการทดแทน แต่เนื่องด้วยการขนส่งระยะทางไกลจึงอาจพบปัญหาปริมาณก๊าซน้อยลงจากปกติ หรือ จำเป็นต้องปิดสถานีบริการ NGV บางแห่งบ้าง แต่อย่างไรก็ตามจะมีประชาสัมพันธ์ให้ทราบล่วงหน้า รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ ติดตามประสานงานเพื่อรับทราบปัญหา และหาแนวทางการแก้ไข เพื่อลดผลกระทบ ที่อาจจะเกิดขึ้น
อย่าลีมว่า แก๊ส NGV ในประเทศไทย มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งวันหนึ่งอาจจะหมดไปในที่สุด เมื่อมาถึงวันนั้นเราจะเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาพลังงานจากประเทศอื่น และแน่นอนว่าต้นทุนค่าพลังงานจะมีราคาสูงตามมาแน่นอน ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ทุกคนต้องช่วยกันใช้อย่างประหยัดและคุ้มค่า เพื่ออนาคตของการมีพลังงาน ให้ยาวนาน